วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555



พระยาสุรสีห์ (บุญมา) ที่คุณพิชญไชยเข้าใจนั่นเป็นราชทินนามก่อนที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท จะอุปราชาภิเษกครับ ถ้าคุณจะเรียกให้ถูกต้องเป็นสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทหรือกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท
พระราชประวัติมีดังนี้ครับ
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท หรือ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท พระนามเดิม บุญมา เป็นพระราชภาตาร่วมพระราชชนกชนนี กับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 5 ในสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกทองดี และพระชนนีหยก ประสูติในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันพฤหัสบดีขึ้น 1 ค่ำ เดือน 11 ปีกุน พ.ศ. 2286 มีนิวาสถานอยู่หลังป้อมเพชร ในกรุงศรีอยุธยา เมื่อทรงเจริญวัยได้รับราชการเป็นมหาดเล็กตำแหน่งนายสุดจินดา มหาดเล็กหุ้มแพร ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ทรงมีพระเชษฐา พระเชษฐภคิณี พระอนุชาร่วมพระชนก ประกอบด้วย
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี (นามเดิมว่า สา) พระเชษฐภคินี พระองค์ใหญ่
พระเจ้ารามณรงค์ (นามเดิมว่า รามณรงค์) พระเชษฐา พระองค์ใหญ่
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ (นามเดิมว่า แก้ว) พระเชษฐภคินี พระองค์รอง
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (นามเดิมว่า ด้วง) พระเชษฐา พระองค์รอง
สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท (นามเดิมว่า บุญมา)
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าลา กรมหลวงจักรเจษฎา (นามเดิมว่า ลา) พระอนุชา ต่างพระชนนี
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากุ กรมหลวงนรินทรเทวี (นามเดิมว่า กุ) พระขนิษฐา ต่างพระชนนี
ใน พ.ศ. 2310 พม่ายกมาล้อมกรุงศรีอยุธยา ขณะนั้นพระนครอ่อนแอมาก พระยาวชิรปราการ (สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี) จึงพาสมัครพรรคพวกตีฝ่าออกจากพระนครศรีอยุธยา มุ่งไปรวบรวมกำลังที่หัวเมืองชายทะเลตะวันออก ที่ชลบุรี เพื่อจะรบสู้ขับไล่ข้าศึกจากพระนคร เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่ข้าศึกบ้านเมืองสับสนเป็นจลาจล กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ซึ่งขณะนั้นมีตำแหน่งเป็น นายสุดจินดา ได้เสด็จลงเรือเล็กหลบหนีออกจากกรุงศรีอยุธยา และมุ่งจะเสด็จไปยังเมืองชลบุรีด้วยเช่นกัน ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี ได้นำครอบครัว และบริวาร อพยพหลบภัยข้าศึกไปตั้งอยู่ ณ อำเภออัมพวา เมืองสมุทรสงครามซึ่งแต่เดิมขึ้นกับ เมืองราชบุรี
ก่อนที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท จะเสด็จไปถึงชลบุรี ได้เสด็จไปพบพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ที่อำเภออัมพวาก่อน ได้ทรงชวนให้เสด็จไปหลบภัย ณ ชลบุรี ด้วย แต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ยังไม่พร้อม แต่ได้พระราชทานเรือใหญ่ พร้อมเสบียงอาหาร และพระราชดำริให้ไปฝากตัวทำราชการกับสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และทรงแนะนำให้เสด็จไปรับท่านเอี้ยง พระชนนีของพระยาตากสิน ซึ่งอพยพไปอยู่ที่บ้านแหลม พร้อมทั้งทรงฝากดาบคร่ำ และแหวน 2 วง ไปถวายเป็นของกำนัลด้วย
เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่ข้าศึก ข้าศึกได้เผาผลาญบ้านเมือง วัดวาอาราม เก็บรวบรวมทรัพย์สินมีค่า แล้วยกทัพกลับไป ให้ทหารรักษาการอยู่ที่ค่ายโพธิ์สามต้น และที่ธนบุรี บ้านเมืองตกอยู่ในภาวะระส่ำระสาย แยกเป็นก๊กเป็นเหล่าถึง 6 ก๊ก พระยาตากสิน เป็นก๊กหนึ่งรวบรวมไพล่พลตั้งอยู่ที่จันทบุรี เข้าตีพม่าข้าศึกที่รักษากรุงศรีอยุธยาแตกไปแล้ว จึงเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็น สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี เมื่อปีชวด สัมฤทธิศก พ.ศ. 2311 สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ในขณะนั้นทรงได้รับการสถาปนาบรรดาศักดิ์เป็น พระมหามนตรี เจ้าพระตำรวจในขวา


อ้างอิง http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=372dc7d613f1a186

เจ้าพระยาอภัยภูเบศร




เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) เกิดเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2404 ที่เมืองพระตะบอง เป็นบุตรคนโตของเจ้าพระยาคทาธรธรณินทร์ (เยีย อภัยวงศ์) กับท่านผู้หญิงทับทิม (เป็นบุตรเจ้าพระยามหาเสนา (น้อย) ลูกพี่ลูกน้องกับเจ้าพระยามหาเสนา (บุนนาค) ต้นสกุลบุนนาค) บิดาได้นำเข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ศึกษาราชการในสำนักสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ จนได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นข้าราชการกรมมหาดเล็ก มีบรรดาศักดิ์เป็นนายรองเล่ห์อาวุธ รองหุ้มแพรมหาดเล็ก ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็น พระอภัยพิทักษ์ ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยราชการเจ้าเมืองพระตะบองอยู่กับเจ้าคุณบิดา
จนเจ้าพระยาคทาธรธรณินทร์ (เยีย) ถึงแก่อสัญกรรม จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาคทาธรธรณินทร์ ผู้สำเร็จราชการเมืองพระตะบอง สืบแทนบิดา ต่อมาในปี พ.ศ. 2446 พระยาศักดาภิเดชวรฤทธิ์ (ดั่น) สมุหเทศาภิบาลมณฑลเขมรถึงแก่อนิจกรรม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านเป็นทั้งสมุหเทศาฯ มณฑลบูรพา ควบกับผู้สำเร็จฯ เมืองพระตะบองทั้งสองตำแหน่ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น "เจ้าพระยาอภัยภูเบศร บรมนเรศร์สวามิภักดิ์ สมบูรณ์ศักดิ์สกุลพันธ์ ยุตธรรม์สุรภาพอัธยาศรัย อภัยพิริยบรากรมพาหุ" มีตำแหน่งในราชการกระทรวงมหาดไทย ถือศักดินา 10,000 ไร่ เช่นเดียวกับเจ้าพระยาทั้งหลาย และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ปฐมจุลจอมเกล้า ประถมาภรณ์ช้างเผือก ประถมาภรณ์มงกุฎไทย และเหรียญจักรพรรดิมาลา
ปี พ.ศ. 2450 ในขณะที่ไทยมีกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส ต้องแลกมณฑลบูรพากับเมืองตราดให้แก่ฝรั่งเศส ท่านตัดสินใจทิ้งยศถาบรรดาศักดิ์ ทั้งที่ฝรั่งเศสชวนท่านปกครองเมืองพระตะบองต่อ แต่ท่านกลับอพยพครอบครัวและบุตรหลานมาเป็นข้าราชการธรรมดา มาลาออกมาอยู่ที่จังหวัดปราจีนบุรี ในปี พ.ศ. 2460 ได้ทรงพระมหากรุณาพระราชทานนามสกุลแก่เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม) และผู้สืบเชื้อสายต่อจากนั้นไปว่า "อภัยวงศ์" หลังจากนั้นท่านได้บำเพ็ญประโยชน์ให้ประเทศชาติและจังหวัดปราจีนบุรีมากมาย เช่น บริจาคทรัพย์สร้างโรงเรียน โรงพยาบาล และที่สำคัญคือได้บูรณปฏิสังขรณ์ วัดแก้วพิจิตร ที่เมืองปราจีนบุรี โดยเป็นเป็นผู้อำนวยการก่อสร้างและออกแบบเอง และนับเป็นวัดประจำสกุล "อภัยวงศ์"
อุปนิสัยส่วนตัว เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) ยังชอบที่จะประกอบอาหารรับประทานด้วยตนเอง โดยส่วนมากจะเป็นอาหารที่มีส่วนประกอบของสมุนไพร จนกลายเป็นตำรับตกทอดมายังลูกหลานภายในตระกูลและกิจการในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ซึ่งคราวที่รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสเมืองปราจีนบุรี ก็ได้ยังเสวยพระกระยาหารที่ท่านเป็นผู้ปรุงอีกด้วย
เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) ถึงแก่อสัญกรรมที่เมืองปราจีนบุรี เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2465 สิริอายุ 61 ปี ได้รับพระราชทานเพลิงที่วัดแก้วพิจิตร

จอมพล มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนต



จอมพล มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) (28 มีนาคม พ.ศ. 2394 - 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2474) เป็นบุตรของพระยาสุรศักดิ์มนตรี (แสง แสง-ชูโต) กับคุณเดิม บุนนาค ภริยาชื่อ คุณไร บุนนาค บุตรีเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์พิพัฒนศักดิ์ (วร บุนนาค) ภายหลังที่ คุณไร บุนนาค ถึงแก่กรรม ได้สมรสกับท่านผู้หญิงเลี่ยม พรตพิทยพยัต (น้องสาวคุณไร)

จอม พลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี มีชื่อเดิมว่า เจิม แสงชูโต เป็นชาวฝั่งธนบุรี เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2394 เป็นบุตรของพระยาสุรศักดิ์มนตรี (แสง แสงชูโต) เนื่องจากมารดาถึงแก่กรรม ท่านเจิมจึงได้บวชเณร ที่วัดพิชัยญาติ หรือวัดพิชยญาติการาม เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับมารดา จึงมีโอกาสเรียนหนังสือที่วัดพิชัยญาติ
กระทั่ง อายุ 15 ปี ได้เข้าเรียน ที่สำนักสมเด็จ เจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ที่สมุหกลาโหม หลังจากเรียนจนชำนาญ ได้เข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็ก ในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเมื่อครั้งที่ ทรงสเด็จเสวยราชสมบัติแรกๆ ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งกรมทหารมหาดเล็ก เพื่อฝึกสอนวิชาทหาร ท่านเจิมจึงได้รับบรรจุ เป็นมหาดเล็กหมายเลข 1 นอกจากนี้ ยังทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งเป็นกองทหารองครักษ์ ซึ่งต่อมาเป็น กรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ในปัจจุบัน
ครั้น เมื่อปี พ.ศ. 2414 เจิม แสงชูโต ได้รับยศนายร้อยตรี ตำแหน่งผู้บังคับกองร้อยที่ 6 มีบรรดาศักดิ์เป็น "หลวงศัลยุทธสรกรร" และตามสเด็จประพาสอินเดีย จึงได้เปลี่ยนบรรดาศักดิ์ใหม่เป็น "หลวงศัลยุทธวิธีการ" โดยต่อมา ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็น "จมื่นสราภัยสฤษดิ์การ" เนื่องจากเป็นอุปทูตไปกรุงปัตตาเวีย
ต่อมาใน ปี พ.ศ. 2421 รัฐบาลไทยกับกงสุลอังกฤษ เกิดข้อบาดหมางกัน พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) เป็นราชทูตออกไปยัง ประเทศอังกฤษ และจมื่นสราภัยสฤษดิ์การ เป็นอุปทูตร่วมคณะ จนกระทั่งเรื่องราวสงบเรียบร้อย จึงได้รับความดีความชอบ เลื่อนเป็น "จมื่นไวยวรนาถ"
เมื่อปี พ.ศ. 2426 เกิดเหตุโจรผู้ร้ายชุกชุม ที่เมืองสุพรรณบุรี จมื่นไวยวรนาถได้รับมอบหมาย ให้ไปปราบ ซึ่งสามารถปราบได้สำเร็จ รวมทั้งปราบโจรผู้ร้าย จากทางหัวเมืองตะวันออกด้วย ในปี พ.ศ. 2428 ยังได้รับหน้าที่ ให้เป็นแม่ทัพปราบฮ่อ ที่หัวเมืองลาว และในปี พ.ศ. 2430 ได้รับหน้าที่ไปปราบฮ่ออีกครั้งหนึ่ง โดยคิดค้น และผลิตลูกระเบิดขึ้น ใช้ในการรบ จนกระทั่งปราบฮ่อ ได้สำเร็จราบคาบ
จมื่นไวยวรนาถได้ริเริ่มวางแผนการ ก่อตั้งโรงไฟฟ้าขึ้นใช้ในกองทัพบก และเชิญชวนให้มีการเข้าหุ้นตั้งโรงไฟฟ้า ซึ่งท่านนำไฟฟ้ามาใช้ ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดยในปี พ.ศ. 2433 มีการจัดตั้งโรงไฟฟ้า ที่วัดเลียบ จนกระทั่งกิจการไฟฟ้าก้าวหน้ามากขึ้น เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ทำให้ประชาชนทั่วไป ได้รับความสะดวกสบาย และมีไฟฟ้าใช้กันเรื่อยมา นอกจากนี้ ยังเป็นผู้ดำเนินการจัดตั้งโรงทหารหน้า (ปัจจุบัน เป็นที่ตั้งของกระทรวงกลาโหม) โดยแต่เดิม เป็นที่ตั้งของฉางหลวงเก่าด้วย
ภายหลัง จากการปรากบฏฮ่อ ได้สำเร็จถึง 2 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2435 จึงได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นเสนาบดี กระทรวงเกษตร และต่อมาในปี พ.ศ. 2439 จึงได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็น "เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี" และได้รับหน้าที่เป็นแม่ทัพ ไปปราบเงี้ยว ซึ่งก่อการจลาจล ที่หัวเมืองฝ่ายเหนือ เมื่อปี พ.ศ. 2445
เจ้าพระ ยาสุรศักดิ์มนตรี รับใช้ราชการ มาจนกระทั่งสมัยรัชการที่ 6 โดยได้รับตำแหน่งรัฐมนตรี และได้รับพระราชทานนามสกุลว่า "แสงชูโต" ซึ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้ทรงพระราชยศให้เป็น "จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี" ในฐานะที่มีคุณงามความดีต่อประเทศชาติ
กระทั่ง จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ถึงอสัญกรรมในปี พ.ศ. 2474 โดยต่อมาค่ายสุรศักดิ์มนตรี จังหวัดลำปาง ได้สร้างอนุสาวรีย์ขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์ ในการเป็นแม่ทัพสำคัญ ที่ได้ยกพลไปปราบกบฏเงี้ยว และได้มาพัก ณ บริเวณค่าย สุรศักดิ์มนตรีแห่งนี้ โดยได้ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2504

พระยามโนปกรณ์นิติธาดา



มหาอำมาตย์โท พระยามโนปกรณนิติธาดา เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย ชื่อเดิมว่า "ก้อน หุตะสิงห์" เกิดวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2427 ที่จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของนายฮวด กับนางแก้ว หุตะสิงห์ ท่านถึงอสัญกรรม ณ ปีนัง เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2491 รวมอายุได้ 64 ปีเศษ

ระยามโนปกรณนิติธาดา เป็นผู้ที่จบการศึกษาวิชากฎหมายระดับเนติบัณฑิต จากประเทศอังกฤษ เป็นข้าราชการตุลาการผู้ที่ได้ชื่อว่ามือสะอาด ไม่เคยมีเรื่องด่างพร้อยมาตลอดชีวิตการรับราชการ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ท่านได้รับเลือกจากคณะราษฎรโดยนายปรีดี พนมยงค์ ให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดแรกที่มีด้วยกันทั้งหมด 70 คน ที่มาจากการแต่งตั้ง และได้รับคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศ ด้วยหวังว่าท่านจะเป็นคนกลางประสานความเข้าใจระหว่างกลุ่มผู้นิยมการปกครองแบบเก่า และกลุ่มผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง
หลังจากมีกรณีเรื่อง "สมุดปกเหลือง" เค้าโครงเศรษฐกิจที่ร่างโดยนายปรีดี ขึ้นถวายให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงวินิจฉัย ซึ่งพระองค์ท่านไม่เห็นชอบด้วย ก่อให้เกิดความแตกแยกกันในหมู่สมาชิกคณะราษฎร ข้าราชการ ขุนนาง และบุคคลในสภา ฯ พระยามโนปกรณ ฯ เองก็ไม่เห็นชอบด้วยกับเค้าโครงเศรษฐกิจฉบับนี้ ประกอบกับได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกคณะราษฎรกลุ่มทหารที่นำโดย พระยาทรงสุรเดช ท่านจึงได้ใช้อำนาจของนายกรัฐมนตรีปิดสภา พร้อมงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา รวมทั้งได้เนรเทศนายปรีดี พนมยงค์ ให้กลับไปยังประเทศฝรั่งเศส และออกพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์เป็นฉบับแรกด้วย ซึ่งเรียกกันว่าท่านกระทำรัฐประหารด้วยการใช้ ปากกาด้ามเดียว ท่ามกลางความไม่พอใจของกลุ่มคณะราษฎรที่สนับสนุนนายปรีดี พนมยงค์
เหตุการณ์ความขัดแย้งเหล่านี้ ได้บานปลายนำไปสู่การรัฐประหารในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2476 ที่ พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะราษฎรได้รัฐประหารคณะรัฐบาลของท่าน และเนรเทศท่านไปยังปีนังด้วยรถไฟ พร้อมกับเรียกตัวนายปรีดีกลับมาจากฝรั่งเศส ซึ่งพระยามโนปกรณนิติธาดาก็ได้ใช้ชีวิตในบั้นปลายอยู่ที่ปีนัง ตราบจนถึงแก่อสัญกรรม
พระยามโนปกรณนิติธาดาเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและคุณวุฒิสูง แต่เป็นบุคคลที่พูดจาขวานผ่าซาก ชีวิตส่วนตัวชื่นชอบในการเดินป่าและล่าสัตว์ป่า

สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 5

       

    สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 5 พระมหากษัตริย์อาณาจักรอยุธยาพระองค์ที่ 24 (ครองราชย์ พ.ศ. 2173 - พ.ศ. 2199) และทรงเป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ปราสาททอง ราชวงศ์ลำดับที่ 4 ของอาณาจักรอยุธยา
ราชวงศ์ปราสาททอง เป็นราชวงศ์ที่ ๔ ครองกรุงศรีอยุธยาเป็นเวลา ๕๘ ปี (พ.ศ. ๒๑๗๒ - พ.ศ. ๒๒๓๑) สถาปนาราชวงศ์โดยสมเด็จเจ้าฟ้าปราสาททองด้วยการยึดอำนาจจากสมเด็จพระอาทิตยวงศ์ กษัตริย์ราชวงศ์สุโขทัยพระองค์สุดท้าย ราชวงศ์ปราสาททองมีพระมหากษัตริย์ครองราชย์ ๔ พระองค์เป็นลำดับดังนี้ 

       ๑. สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ผู้สถาปนาราชวงศ์ เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนมายุ ๓๐ พรรษา ครองราชย์เป็นเวลา ๒๗ ปี (พ.ศ. ๒๑๗๒-๒๑๙๙) 

       พระเจ้าปราสาทเป็นลูกพี่ลูกน้องกับพระเจ้าทรงธรรม รับราชการเป็นมหาดเล็กของพระเอกาทศรถ และเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นในกรมวังตอนอายุได้ 17 ปี เมื่อพระเจ้าทรงธรรมสวรรคตก็เกิดปัญหาการสืบราชสมบัติ ขุนนางในราชสำนักแยกเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งคือเจ้าพระยามหาเสนาสนับสนุนพระศรีศิลป์ ซึ่งเป็นอนุชาของพระเจ้าทรงธรรม อีกฝ่ายหนึ่งคือ พระยาศรีสุริยวงศ์ (ปราสาททอง) สนับสนุนพระเชษฐาธิราช พระชนม์พรรษา 14 ซึ่งเป็นโอรสของพระเจ้าทรงธรรม ฝ่ายพระเชษฐาธิราชได้ชัยชนะขึ้นครองราชสมบัติ ดังนั้นพระยาศรีสุริยวงศ์ (ปราสาททอง) จึงได้รับตำแหน่งกลาโหมมีไพร่พลในบังคับและมีอำนาจมาก พระเชษฐาธิราชครองราชสมบัติได้ 1 ปี 7 เดือน เกิดความขัดแย้งกับพระยาศรีสุริยวงศ์ พระเจ้าแผ่นดินถูกจับสำเร็จโทษ และตั้งพระอนุชาคือพระอาทิตยวงศ์ พระชนม์พรรษา 10 ขึ้นเป็นกษัตริย์ได้เพียง 1 เดือน เจ้าพระยาสุริยวงศ์ ก็ยึดอำนาจสถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์เมื่อพระชนม์พรรษา 30 พระองค์ครองราชย์ 27 ปี 


       จากปัญหาการสืบราชสมบัติซึ่งมีมาตลอดในสมัยอยุธยา ทำให้พระเจ้าปราสาททองพยายามที่จะแก้ไขปัญหาการปกครอง คือพยายามที่จะไม่ให้เจ้าหรือขุนนางคนใดคนหนึ่งมีอำนาจในการคุมไพร่พลมากจนมีอำนาจมากขึ้น พระเจ้าปราสาททองได้ดำเนินการให้แบ่งแยกอำนาจกันระหว่าง 2 เสนาบดีผู้ใหญ่คือกลาโหม และ มหาดไทย แบ่งหัวเมืองทางเหนือให้ขึ้นอยู่ในบังคับบัญชาของมหาดไทยให้หัวเมืองทางใต้อยู่ในปกครองของกลาโหม 


       นอกจากปัญหาภายในดังกล่าวแล้ว สมัยพระเจ้าปราสาททอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับญี่ปุ่นและฮอลันดาในกรณีของญี่ปุ่นนั้นเนื่องจากหัวหน้าของชาวญี่ปุ่นในอยุธยาได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบบราชการไทย คือเข้ามาเป็นทหารอาสารักษาพระองค์ ดังนั้นญี่ปุ่นจำนวนหนึ่งจึงเกี่ยวพันกับการเมืองของการสืบราชสมบัติ ในกรณีนี้เมื่อพระเจ้าปราสาททองยึดอำนาจเสียเอง ก็ทำให้ยามาดะ นางามาซะ ไม่พอใจ ยามาดะถูกส่งไปเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช และถูกลอบวางยาพิษเสียชีวิต และบทบาทของญี่ปุ่นในราชสำนักก็ถูกกำจัดลงจนเกือบจะหมดสิ้น 


       ในสมัยพระเจ้าปราสาททองเป็นสมัยที่ศิลปะเกี่ยวกับศาสนาเฟื่องฟูมาก มีการรื้อฟื้นอิทธิพลของสถาปัตยกรรมเขมร เช่นการสร้างปรางค์ปราสาทที่วัดไชยวัฒนาราม และที่อำเภอนครหลวง แต่ในขณะเดียวกันก็มีการพัฒนาศิลปะของพระพุทธรูป (ทรงเครื่องกษัตริย์) อันถือเป็นแบบฉบับที่สำคัญของปลายอยุธยา พระเจ้าปราสาททองทรงเน้นพระราชพิธีเสด็จไปบูชารอยพระพุทธบาทที่สระบุรีอันเริ่มมาแต่สมัยพระเจ้าทรงธรรม จนกลายเป็นประเพณีที่สำคัญของอยุธยาตอนปลาย 

       ๒. สมเด็จเจ้าฟ้าไชย (พ.ศ. ๒๑๙๙ - พ.ศ. ๒๑๙๙) พระโอรสของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ครองราชย์ได้เพียง ๒ วัน (๗-๘ สิงหาคม) ก็ถูกพระนารายณ์ (พระอนุชา) ร่วมกับพระศรีสุธรรรมราชา ทำการยึดอำนาจและประหารชีวิต 

       ๓. สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา (พ.ศ. ๒๑๙๙ - พ.ศ. ๒๑๙๙)พระอนุชาของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และเป็นพระเจ้าอาของเจ้าฟ้าไชย อยู่ในราชสมบัติได้เพียง ๒เดือน ๑๘ วัน พระนารายณ์ก็ชิงราชสมบัติและสำเร็จโทษพระศรีสุธรรมราชา 

       ๔. สมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. ๒๑๙๙ - พ.ศ. ๒๒๓๑)พระโอรสของพระเจ้าปราสาททอง เมื่อพระราชบิดาสวรรคต พระนารายณ์ทรงร่วมกับ พระเจ้าอา(พระศรีสุธรรมราชา) ชิงราชสมบัติจากพระเชษฐา(เจ้าฟ้าไชย)และต่อมาทรงยึดอำนาจจาก พระศรีสุธรรมราชา แล้วจึงสถาปนาพระองค์ "ปราบดาภิเษก"เป็นพระมหากษัตริย์ 

       สมัยของสมเด็จพระนารายณ์ฯ ถือได้ว่ากรุงศรีอยุธยารุ่งเรืองถึงขีดสุด ทรงติดต่อสัมพันธ์กับชาวต่างประเทศ แต่ผลของการดำเนินนโยบายที่ล่อแหลมของพระองค์และการที่ทรงสนพระทัยในคริสต์ศาสนา ทำให้บรรดาขุนนางไทยและพระสงฆ์เกิดความรู้สึกต่อต้านชาวต่างชาติ เมื่อพระองค์ทรงประชวร ได้ทรงแต่งตั้งให้พระเพทราชารักษาราชการ โดยยังไม่ได้มอบราชสมบัติให้ผู้ใด ไม่ว่าจะเป็นพระอนุชา โอรสบุญธรรมหรือพระธิดาของพระองค์ พระเพทราชาจึงยึดอำนาจ พระปีย์(โอรสบุญธรรม)ถูกลอบสังหาร 

       สมเด็จพระนารายณ์ฯ สวรรคตเมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๒๓๑ พระเพทราชาก็ขึ้นครองราชสมบัติและสถาปนาราชวงศ์บ้านพลูหลวงสืบต่อมา พระอนุชาของพระนารายณ์คือ เจ้าฟ้าอภัยเทศและเจ้าฟ้าน้อยถูกสำเร็จโทษจึงเป็นอันสิ้นสุดของราชวงศ์ปราสาททอง


อ้างอิง http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=28d0f1d79e4fc663

พระบาทสมเด็จพระสรรเพชญที่ 8



พระบาทสมเด็จพระสรรเพชญที่ 8 หรือคำให้การชาวกรุงเก่าว่า สมเด็จพระสุริเยนทราธิบดี (ครองราชย์ พ.ศ. 2246-2251) เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 29 แห่งอาณาจักรอยุธยา และเป็นพระองค์ที่สองแห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง
ผู้คนในสมัยพระองค์มักเรียกขานพระองค์ว่า พระเจ้าเสือ เพื่อเปรียบว่า พระองค์มีพระอุปนิสัยโหดร้ายดังเสือ
พระชาติกำเนิดของสมเด็จพระเจ้าเสือนั้น เชื่อว่าเป็นพระราชโอรสลับในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กับพระสนมพระองค์หนึ่งโดยพระราชพงศาวดารฯ ฉบับพระพนรัตน์ (แก้ว) ว่า นางเป็นพระราชธิดาพระเจ้าเชียงใหม่ โดยคำให้การขุนหลวงหาวัดได้ออกพระนามว่า พระราชชายาเทวี หรือ เจ้าจอมสมบุญ ส่วนในคำให้การชาวกรุงเก่าเรียกว่า นางกุสาวดี[
แต่ในเวลาต่อมาสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้พระราชทานพระสนมดังกล่าวให้แก่พระเพทราชา เมื่อครั้งที่ดำรงตำแหน่ง (เจ้ากรมช้าง) โดยในคำให้การขุนหลวงหาวัดและคำให้การชาวกรุงเก่ามีเนื้อหาสอดคล้องกัน คือนางเป็นสนมลับของพระนารายณ์แต่แตกต่างกันเพียงชื่อของนาง และเหตุผลในการพระราชทานพระโอรสแก่พระเพทราชา แต่พระราชพงศาวดารฯ ฉบับพระพนรัตน์ (แก้ว) กลับให้ข้อมูลเกี่ยวกับพระชาติกำเนิดแตกต่างไปจากคำให้การขุนหลวงหาวัดและคำให้การชาวกรุงเก่า โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับสมเด็จพระนารายณ์ ทรงทำศึกสงครามกับเมืองเชียงใหม่แล้วได้ราชธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่เป็นสนม แต่นางสนมเกิดตั้งครรภ์ พระองค์ได้ละอายพระทัยด้วยเธอเป็นนางลาว พระองค์จึงได้พระราชทานแก่พระเพทราชา ดังความในพระราชพงศาวดารฯ ฉบับพระพนรัตน์ (แก้ว) ความว่า
"แล้วเมื่อพระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาจากเมืองเชียงใหม่นั้น พระองค์เสด็จทรงสังวาสด้วยพระราชธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่ และนางนั้นก็ทรงครรภ์ขึ้นมา ทรงพระกรุณาละอายพระทัย จึงพระราชทานนางนั้นให้แก่พระเพทราขา แล้วดำรัสว่านางลาวนี้มีครรภ์ขึ้นมา เราจะเอาไปเลี้ยงไว้ในพระราชวังก็คิดละอายแก่พระสนมทั้งปวง และท่านจงรับเอาไปเลี้ยงไว้ ณ บ้านเถิด และพระเพทราชาก็รับพระราชทานเอานางนั้นไปเลี้ยงไว้ ณ บ้าน"
โดยเหตุผลของสมเด็จพระนารายณ์ได้ปรากฏในคำให้การชาวกรุงเก่าว่า พระองค์ทรงเกรงว่าพระราชโอรสองค์นี้จะคิดกบฏชิงราชสมบัติอย่างเมื่อคราวพระศรีศิลป์ส่วนคำให้การขุนหลวงหาวัด กล่าวว่า พระองค์ทรงต้องรักษาราชบัลลังก์ให้กับพระราชโอรสที่ประสูติแต่พระอัครมเหสีเท่านั้น
พระราชพงศาวดารฯ ฉบับพระพนรัตน์ (แก้ว) จดพระนามเดิมของพระองค์ว่า มะเดื่อ[ ส่วนในหนังสือปฐมวงศ์ของ ก.ศ.ร. กุหลาบ เรียกว่า ดอกเดื่อ เนื่องจากประสูติใต้ต้นมะเดื่อในแขวงเมืองพิจิตร ขณะพระมารดาเสด็จติดตามออกพระเพทราชาโดยเสด็จสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 (สมเด็จพระนารายณ์) เสด็จขึ้นไปนมัสการพระพุทธชินราชและพระพุทธชินสีห์ที่เมืองพิษณุโลก
มีความในพระสยามราชพงศาวดารว่า เมื่อจุลศักราช 1024 ปีชวดโทศก (พ.ศ. 2205) สมเด็จพระนารายณ์ เสด็จไปตีเมืองเชียงใหม่กลับมาถึงเมืองพิษณุโลก เสด็จไปนมัสการพระชินราชพระชินศรี ทำการสักการบูชาแล้วเล่นการมหรสพสมโภชสามวัน[ต้องการอ้างอิง]
จดหมายเหตุเอนเยลเบิร์ต แกมป์เฟอร์ (Engelbert Kaempfer) นายแพทย์ชาวเยอรมันประจำคณะทูตของบริษัทอีสต์อินเดียของฮอลันดาที่เข้ามาเจริญพระราชไมตรีราชสำนักสยามในปี พ.ศ. 2233 ได้ให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับปีประสูติของออกหลวงสุรศักดิ์ว่า เมื่อ พ.ศ. 2233 พระสุรศักดิ์ (Peja Surusak) พระมหาอุปราชมีพระชนม์ 20 พรรษา แสดงว่าพระองค์ประสูติในปี พ.ศ. 2213[1]
วิเคราะห์ตามเวลา การตีเมืองเชียงใหม่ของเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) เชียงใหม่ตกเป็นเมืองขึ้นสมัยพระนารายณ์ในปี พ.ศ. 2205 พระนางกุสาวดี ให้กำเนิดพระเจ้าเสือ พ.ศ. 2213 และทรงครองราชจนถึง พ.ศ. 2251 พระชนมายุจนถึงสวรรคต 47 พรรษา จึงควรจะประสูติ พ.ศ. 2204 หากรวมเวลาที่พระมารดาทรงพระครรภ์แล้วทำให้เวลาไม่สอดคล้องกัน แต่พอสรุปได้ว่าพระองค์ไม่ใช่พระโอรสของพระนารายณ์

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช



สมเด็จพระนารายณ์มหาราช หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสรรเพชญ (พ.ศ. 2175 - พ.ศ. 2231 ครองราชย์ พ.ศ. 2199 -พ.ศ. 2231) พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 27 ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย

สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าปราสาททอง และพระนางศิริธิดา ต่อมาภายหลังถูกยกเป็นพระราชเทวี ซึ่งเป็นพระขนิษฐาต่างมารดาของพระเจ้าปราสาททอง[1] เสด็จพระบรมราชสมภพ เมื่อวันจันทร์ เดือนยี่ ปีวอก พ.ศ. 2175 และทรงมีพระขนิษฐาร่วมพระมารดาคือ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าศรีสุวรรณ กรมหลวงโยธาทิพ หรือพระราชกัลยาณี[1] พระนมอยู่พระองค์หนึ่ง คือ เจ้าแม่วัดดุสิต ซึ่งเป็นญาติห่างๆ ของพระเจ้าปราสาททองเช่นกัน
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงเป็นพระอนุชาในสมเด็จเจ้าฟ้าไชย และยังทรงมีพระอนุชาต่างพระมารดาอีก ได้แก่
ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาเล่าว่าเมื่อแรกเสด็จพระบรมราชสมภพนั้น พระญาติเห็นพระโอรสมีสี่กร พระราชบิดาจึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "พระนารายณ์ราชกุมาร" ส่วนในคำให้การชาวกรุงเก่าและคำให้การขุนหลวงหาวัด เล่าว่าเมื่อเพลิงไหม้พระที่นั่งมังคลาภิเษก พระโอรสเสด็จไปช่วยดับเพลิง ผู้คนเห็นเป็นสี่กร จึงพากันขนานพระนามว่า พระนารายณ์ รึรีนร พระราชประวัติของสมเด็จพระนารายณ์นั้นเกี่ยวกับเรื่องปาฏิหารย์อยู่มาก แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของพราหมณ์ เมื่อเทียบกับกษัตริย์องค์ก่อนๆ ด้วยเหตุนี้เองพระราชประวัติของพระองค์จึงกล่าวถึงปาฏิหารย์มหัศจรรย์ตามลำดับ คือ
  • เมื่อพระนารายณ์ทรงมีพระชนม์ได้ 5 พรรษา ขณะเล่นน้ำ พระองค์ทรงถูกอสนีบาต พวกพี่เลี้ยง นางนม สลบหมดสิ้น แต่พระองค์ไม่เป็นไรแม้แต่น้อย
  • เมื่อพระนารายณ์ทรงมีพระชนม์ได้ 9 พรรษา พระองค์ทรงถูกอสนีบาตที่พระราชวังบางปะอิน แต่พระองค์ก็ปลอดภัยดี
สมเด็จพระนารายณ์ทรงรับการศึกษาจากพระโหราธิบดี ซึ่งเป็นข้าราชการระดับสูงในพระราชวัง และพระอาจารย์พรหม พระพิมลธรรม รวมทั้งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์และพระสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์ระดับสูงในพระนคร
สมเด็จพระนารายณ์มีส่วนสำคัญในการขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระศรีสุธรรมราชา โดยพระองค์ได้ร่วมมือกับสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาในการชิงราชสมบัติจากสมเด็จเจ้าฟ้าไชย ซึ่งเป็นพระเชษฐาของพระองค์ โดยหลังจากที่พระองค์ช่วยสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาขึ้นครองราชสมบัติได้แล้วนั้น สมเด็จพระศรีสุธรรมราชาทรงแต่งตั้งให้พระองค์ดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชและให้เสด็จไปประทับที่พระราชวังบวรสถานมงคล หลังจากสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาขึ้นครองราชสมบัติได้ 2 เดือนเศษ พระองค์ทรงชิงราชสมบัติจากสมเด็จพระศรีสุธรรมราชา
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อเวลาสองนาฬิกา วันพฤหัสบดี แรม 2 ค่ำ เดือน 12 จุลศักราช 1018 ปีวอก (ตรงกับวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2199) มีพระนามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 27 แห่งกรุงศรีอยุธยา ขณะทรงมีพระชนมายุ 25 พรรษา
หลังจากประทับในกรุงศรีอยุธยาได้ 10 ปี พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองลพบุรีขึ้นเป็นราชธานีแห่งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2209 และเสด็จไปประทับที่ลพบุรีทุกๆ ปี ครั้งละเป็นเวลานานหลาย
การเสด็จสวรรคต
พระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2231 ณ พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี รวมครองราชสมบัติเป็นเวลา 32 ปี มีพระชนมายุ 56 พรรษา